วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมา


 ประวัติความเป็นมา         

ฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทยพบที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในปี 2519 โดยนายสุธรรม แย้มนิยม อดีตนักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ขณะสำรวจแร่ยูเรเนียม ในหมวดหินเสาขัว ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง บริเวณห้วยประตูตีหมา กระดูกชิ้นนี้มีความกว้างยาวประมาณ 1 ฟุต จากการเปรียบเทียบพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งมีขนาดใหญ่ยาวประมาณ 15 เมตร และจากการตรวจสอบพบว่าเป็นส่วนปลายล่างสุดของกระดูกต้นขาของไดโนเสาร์จำพวกกินพืช การสำรวจไดโนเสาร์ที่ภูเวียงได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี 2524 โดยนายเชิงชาย ไกรคง นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี ได้พาคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย และฝรั่งเศสขึ้นไปสำรวจกระดูกไดโนเสาร์บริเวณยอดห้วยประตูตีหมา อำเภอภูเวียงคณะสำรวจพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชขนาดใหญ่ รวมทั้งฟันจระเข้ กระดองเต่า ฟันและเกล็ดปลาโบราณ และจากการสำรวจในเวลาต่อมาได้พบกระดูกไดโนเสาร์อีกหลายชนิด ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงจัดตั้งขึ้น โดยความร่วมมือของกรมทรัพยากรธรณี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ สำหรับให้การศึกษาแก่เยาวชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น

แหล่งขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ภายหลังจากการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรกแล้ว ต่อมาได้มีการขุดค้นพบซากฟอสซิลรวมถึงรอยเท้าไดโนเสาร์ รวม 9 หลุม ดังนี้

หลุมที่ 1 (ประตูตีหมา)พบกระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่จำนวนมากเรียงรายอยู่ในชั้นหินหลุมที่ 2 (ถ้ำเจีย)พบกระดูกส่วนคอของไดโนเสาร์ซอโรพอดเรียงต่อกัน จำนวน 6 ชั้นหลุมที่ 3 (ห้วยประตูตีหมา)พบกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครงหลายชิ้น ของไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่
หลุมที่ 4 (โนนสาวเอ้)พบฟอสซิลกระจายเป็นบริเวณกว้างกว่า 10 ตารางเมตร ประกอบด้วยกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ และที่อยู่ในวัยเยาว์ นอกจากนั้นยังพบเกล็ดปลาเลปิโดเทสและกระดองเต่า
หลุมที่ 5 (ซำหญ้าคา)
หลุมที่ 6 (ดงเค็ง)
และหลุมที่ 7 (ภูน้อย)พบไดโนเสาร์ทั้งขนาดใหญ่และที่ยังเยาว์ และยังพบฟอสซิลของจระเข้ขนาดเล็กอีกด้วย
หลุมที่ 8 (หินลาดป่าชาด)พบรอยเท้าไดโนเสาร์ มากกว่า 60 รอยใน 10 แนวทางเดิน เป็นของไดโนเสาร์พวกกินเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งเดินด้วย 2 ขา
หลุมที่ 9 (หินลาดยาว)พบกระดูกสันหลังหลายชิ้นโผล่มาจากชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหินเสาขัว และยังพบส่วนของสะโพกด้านซ้ายและกระดูกส่วนหางกว่า 10 ชิ้น ของพวกไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 6.5 เมตร







สถานที่ตั้ง

ศูนย์ศึกษาวิจัยแลพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตร การเข้าถึงพื้นที่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ซึ่งเป็นถนนสายยาว ติดต่อจากจังหวัดตากทางด้านทิศตะวันตกผ่านจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก อำเภอหล่มสัก อำเภอชุมแพไปสิ้นสุดที่จังหวัดขอนแก่น โดยหากเริ่มจากจังหวัดขอนแก่นให้ใช้เส้นทางไปชุมแพ และแยกขวาเข้าอำเภอภูเวียง ตามเส้นทางหลวงสาย 2038 ซึ่งปากทางเข้าอยู่เลยอำเภอหนองเรือไปเล็กน้อย หรือหากเริ่มต้นจากอำเภอชุมแพให้ไปทางขอนแก่นแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหลวงสาย 2038 เช่นเดียวกัน เมื่อเลยอำเภอภูเวียงเล็กน้อยให้ใช้เส้นทางตรงไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ศูนย์ศึกษาวิจัยฯ ก่อนถึงอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร








กำเนิดไดโนเสาร์

กำเนิดไดโนเสาร์
THE ORIGIN OF THEDINOSAURS
                  คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่แท้จริงแล้วไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่มีลักษณะก่ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก ครองระบบนิเวศน์บนพื้นพิภพในมหายุคมีโซโซอิกเป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว แม้ว่าสัตว์บางชนิดที่อยู่ในน้ำและบนบกจะมีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์แต่จริงๆพวกมันเป็นเพียงสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้น


                 ไดโนเสาร์มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Dinosaur ถูกตั้งโดย เซอร์ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือ คำว่า Deinos (ใหญ่จนน่าสะพึ่งกลัว) และคำว่า sauros (สัตว์เลื้อยคลาน) ไดโนเสาร์มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ในกลุ่มอาร์โคซอร์ (Archosaur) โดยไดดนเสาร์เริ่มแยกตัวออกมาจากกลุ่มคาร์โคซอร์ ในยุคไทรแอสซิก ไดโนเสาร์ชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นราวๆ 230 ล้านปีที่แล้ว สายพันธุ์ไดโนเสาร์ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วหลังยุคไทรแอสซิก ซึ่งในยุคนี้อากาศมีสภาพร้อนและแล้งกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ดีมาก เหมาะสำหรับเป็นแหล่งอาหารให้กับพวกไดโนเสาร์กินพืช ไดโนเสาร์กลุ่มแรกมีขนาดเล็กเดิน 2 เท้า ลักษณะพิเศษคือมีรูปร่างเท้าคล้ายกับเท้าของนก เพลททีโอซอรัสไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวกซอโรพอด









ไดโนเสาร์สายพันธ์ไหม่ที่พบในขอนแก่น


ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phuwiangosaurus sirindhornae) หมายความว่า "สัตว์เลื้อยคลานยักษ์แห่งภูเวียง" เป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในหมวดหินเสาขัว อายุราวยุคครีเตเชียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด (sauropod - ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว) ชนิดแรกที่บรรยายลักษณะจากประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม Titanosaur ซึ่งเป็นซอโรพอดขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15-20 เมตร โดยตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) พบที่ภูเวียง อำเภอภูเวียง (อำเภอเวียงเก่า ในปัจจุบัน) จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2525 และได้รับการบรรยายลักษณะเมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)



  พบกระดูกภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่ง วัดสักกะวัน ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) ซึ่งพบโครงกระดูกอย่างน้อย 6 ตัว จำนวนมากกว่า 800 ชิ้น และแหล่งภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น สถานที่พบเป็นครั้งแรก (type locality) พบกระดูกของพวกวัยเยาว์ ขนาดประมาณ 2 เมตร สูง 0.5 เมตรรวมอยู่ด้วย กรมทรัพยากรธรณีขอพระราชทานชื่อชนิดจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านที่สนพระทัยงานในด้านธรณีวิทยา และบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทย




สยามโมซอรัส สุธีธรนี

สยามโมซอรัส สุธีธรนี   (อังกฤษ: Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ขนาดกลาง พบครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ชิ้นส่วนตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ เป็นรูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้อยในแนวด้านหลังของฟัน 
บนผิวของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนวความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของตัวฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่มีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ความยาวของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร ลักษณะฟันดังกล่าวไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ "สยามโมซอรัส สุธีธรนี"






สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิ (อังกฤษ: Siamotyrannus isanensis) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร ชื่อของมันหมายถึง"ทรราชแห่งสยามจากภาคอีสาน" พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี พ.ศ. 2536 พบอยู่ในเนื้อหินทรายเนื้อแน่นหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ชิ้นส่วนกระดูกประกอบด้วยกระดูกสะโพก 1 ชิ้น กระดูกเชิงกรานด้านซ้าย ที่วางตัวฝังอยู่ใต้กระดูกสันหลัง ลักษณะของกระดูกเปรียบเทียบได้กับของไดโนเสาร์วงศ์ไทรันนอซอริดี ลักษณะไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส


 ลักษณะของกระดูกพิจารณาได้ว่าเป็นของไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอร์ มีลักษณะเก่าแก่โบราณมากกว่าไดโนเสาร์ในวงศ์เดียวกันที่ค้นพบจากแหล่งอื่นๆมากกว่าถึงประมาณ 20 ล้านปี ทำให้สัณฐานได้ว่าไดโนเสาร์วงศ์นี้อาจมีถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการขึ้นเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชียแล้วแพร่กระจายพันธุ์ออกไปจนถึงอเมริกาเหนือในช่วงปลายยุคครีเทเชียส แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จัดอยู่อีกวงศ์คือ Metriacanthosauridae เนื่องจากภายหลังนั้นพบว่ามีหลายส่วนที่บ่งบอกได้ว่าอยู่ในวงศ์นี้



กินรีไมมัส
 กินรีไมมัส (อังกฤษ: Kinnareemimus) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการของไดโนเสาร์สกุลหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการบรรยายลักษณะ (โนเมน นูดัม) ของไดโนเสาร์เทอร์โรพอดพบในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียส จากหลุมขุดค้นที่ 5 อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ลักษณะกระดูกที่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์พวกออร์นิโธมิโมซอเรียน หลักฐานที่พบเป็นเพียงกระดูกอุ้งตีนข้อที่สามที่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์แต่มีลักษณะของพินชิ่งด้านข้างที่เด่นชัดซึ่งพบได้ใน ออร์นิโถมิโมซอร์ ไทรันโนซอรอยด์ ทรูดอนติดส์ และ ครีแนกนาธิดส์ หากมีอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นจริง จะถือว่าเป็นออร์นิโถมิโมซอร์รุ่นแรกๆที่มีความเก่าแก่กว่าที่เคยพบเห็นมา ชื่อกินรีไมมัส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดย ริวอิชิ คาเนโกะ (Ryuichi Kaneko) ด้วยชื่อว่า "Ginnareemimus" ในปี ค.ศ. 2000 ทั้งนี้ยังไม่ถือว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ












กินรีไมมัส (อังกฤษ: Kinnareemimus) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการของไดโนเสาร์สกุลหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการบรรยายลักษณะ (โนเมน นูดัม) ของไดโนเสาร์เทอร์โรพอดพบในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียส จากหลุมขุดค้นที่ 5 อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ลักษณะกระดูกที่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์พวกออร์นิโธมิโมซอเรียน หลักฐานที่พบเป็นเพียงกระดูกอุ้งตีนข้อที่สามที่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์แต่มีลักษณะของพินชิ่งด้านข้างที่เด่นชัดซึ่งพบได้ใน ออร์นิโถมิโมซอร์ ไทรันโนซอรอยด์ ทรูดอนติดส์ และ ครีแนกนาธิดส์ หากมีอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นจริง จะถือว่าเป็นออร์นิโถมิโมซอร์รุ่นแรกๆที่มีความเก่าแก่กว่าที่เคยพบเห็นมา ชื่อกินรีไมมัส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดย ริวอิชิ คาเนโกะ (Ryuichi Kaneko) ด้วยชื่อว่า "Ginnareemimus" ในปี ค.ศ. 2000 ทั้งนี้ยังไม่ถือว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ


ต่อมา Buffetaut et al, 2009 ได้ศึกษากระดูกหลายชิ้น ประกอบด้วยกระดูกหัวหน่าว กระดูกขาหลังท่อนล่าง กระดูกน่อง กระดูกฝ่าตีน และกระดูกนิ้ว จากหลุมขุดค้นที่ 5 ในอุทยานแห่งชาติภูเวียงพบว่าเป็นไดโนเสาร์พวก Ornithomimosaur เป็นสกุลและชนิดใหม่และได้ตั้งชื่อว่า Kinnareemimus khonkaenensis (กินรีไมมัส ขอนแก่นเอนซิส) การค้นพบสกุลและชนิดใหม่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นนี้กล่าวได้ว่า ornithomimosaur รุ่นถัดๆมาอาจมีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วเอเชีย        กินรีไมมัส มาจากชื่อสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายไทยซึ่งมีชื่อเรียกว่า กินรี



คอมซอกนาทัส
คอมซอกนาทัส (อังกฤษ: Compsognathus) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด สกุลไดโนเสาร์ที่ตัวเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 70 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัม ฟอสซิลของมันพบในเหมืองที่ประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ยีงพบในประเทศไทยของเราด้วย พบเศษกระดูก 2 ชิ้นของกระดูกแข้งด้านซ้าย และกระดูกน่องด้านขวา มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร พบที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น[ต้องการอ้างอิง] พบอยู่ในเนื้อหินทรายหมวดหินเสาขัว ยุคครีเทเชียสตอนต้น ลักษณะของกระดูกที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกเนธัส ลองกิเปส     มันล่าสัตว์ตัวเล็กอย่างแมลง หรือหนู อาศัยอยู่ปลายยุคจูราสซิก วิ่งเร็ว เป็นไดโนเสาร์เทอราพอดขนาดเล็ก










การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์

การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์  
 ไขปริศนาการสูญพันธุ์       
 หลังจากครอบครองโลกอยู่  นานถึง 160 ล้านปี  ไดโนเสาร์ผู้ยิ่งใหญ่ก็สูญสิ้น
 เผ่าพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว อะไร คือสาเหตุ    แห่งการสูญพันธุ์ครั้งนี้ มีผู้พยายาม
 ศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันมีทฤษฏีที่ได้ยอมรับ เพียง3     ทฤษฏีหลัก คือ
1.ทฤษฏีอุกกาบาดพุ่งชนโลก
เป็นทฤษฏีที่มีการอ้างและพูดถึงกันมาก เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยมีอุกาบาตรขนาดใหญ่จำนวนมาพุ่งชนโลก ผลจากการชนทำให้เกินการ
ระเบิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองสู่บรรยากาศโลก เป็นเสมือนม่านบดบัง
แสงอาทิตย์  ส่งผลให้เกิดความมืดมิดและบรรยากาศเย็นลงอย่างฉับพลันเป็นเวลานาน
ทำให้ไดโนเสาร์ไม่สามารถปรับตัวได้ให้เข้ากับอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้
จึงล้มตายเป็นสูญพันธุ์ แนวคิดนี้อ้างอิงจากการพบธาตุอิริเดียมในปริมาณ
มากกว่าปกติในชั้นตะกอนบางๆ ที่มีอายุในช่วงรอยต่อระหว่างยุคครีเทเชียส
และเทอร์เชียร์รี ในบริเวณต่างๆ ของโลก นอกจากนั้นยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่า
เกิดจากการชนของอุกาบาตร เช่น ในประเทศแม็กซิโก ที่สอดคล้องกับอายุ
ที่มีการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์อีกด้วย

2.ทฤษฏีเรือนกระจก
สืบเนื่องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟที่รุงแรงในเวลาไกล้เคียงกันเกือบทั่วโลก
เช่น หลักฐานการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณที่ราบสูงเดคคาน
ประเทศอินเดีย การระเบิดครั้งนี้เป็นการที่ระเบิดที่รุงแรงที่สุดในช่วงการมีชีวิต
ของไดโนเสาร์ เป็นให้ลาวาจำนวนมหาศาลปะทุสู่พื้นผิวโลก ปกคลุมพื้นที่
กว่า1 ล้านตารางไมล์และหนากว่า1ไมล์ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูก

3.ทฤษฏีการขาดอากาศนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มหนึ่งได้ตั้งข้อเสนอไว้ว่า ไดโนเสาร์อาจจะสูญพันธุ์จากโลกนี้เพราะประมาณของออกซิเจนลดลงไปอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับการที่อุณหภูมิของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ไดโนเสาร์จำนวนมากเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในช่วงต้นมหายุคจำนวนมาก ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะถูกพืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์แสง และปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาเป็นจำนวนมาก บรรยากาศของโลกยุคนั้นจึงเต็มไปด้วยอากาศบริสุทธิ์เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่งรวมถึง