แผนภาพวัฏจักรหิน
1 = หินหนืด 2 = การเกิดผลึก 3 = หินอัคนี;
4 = การกัดกร่อน 5 = เศษตะกอน 6 = ตะกอนและหินตะกอน 7 = ธรณีแปรสัณฐานและการแปรสภาพ
8 = หินแปร 9 = การหลอมเหลว.
8 = หินแปร 9 = การหลอมเหลว.
วัฏจักรของหิน เป็นความรู้พื้นฐานในธรณีวิทยาที่อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของหินหลัก 3 ชนิด คือ หินอัคนี, หินตะกอน และหินแปร หินทั้งสามชนิดนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาทางธรณีกาล อาจมีการเปลี่ยนจากหินชนิดหนึ่งไปเป็นหินอีกชนิดหนึ่ง หรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมก็ได้ ขึ้นกับอุณหภูมิและความดันที่เป็นปัจจัยทำให้หินเกิดการผุพัง การกัดกร่อนและการแปรสภาพกลายเป็นหินชนิดใหม่ขึ้นมา
ต้นกำเนิดของหินแนวคิดวัฏจักรหินเกิดขึ้นในศตวรรษที่
18 โดย เจสส์ ฮัตตัน บิดาแห่งธรณีวิทยา
วัฎจักรน้ำนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดหลักแห่งความเป็นเอกภาพ (Uniformitarianism) และจากความคิดของเขาที่ว่า “no vestige of a beginning,
and no prospect of an end” ที่นำมาประยุกต์ใช้ในวัฏจักรหินร่วมกับกระบวนการทางธรณีวิทยา
เมื่อมีทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน ในช่วงศตวรรษที่ 1960 จึงมีการพัฒนาเป็น Wilson cycle โดย J. Tuzo Wilson ที่นำเอาทฤษฎีแปรสัณฐานมาใช้ร่วมด้วย
เนื่องจากหินที่มีการโผล่ขึ้นมาบนผิวโลกจะมีความเสถียรลดลง
จึงเกิดการผุพังและกัดกร่อนของหินได้ง่ายด้วยกระบวนการจากลมฟ้าอากาศ สารละลาย
การกระทำของต้นไม้ รวมไปถึงแบคทีเรีย กระบวนการผุพังและกัดกร่อนจะทำให้หินดั้งเดิมแตกหักจนกลายเป็นตะกอนและสามารถพัดพาไปยังที่ต่าง
ๆ โดยลม น้ำ หรือธารน้ำแข็ง เมื่อเกิดการสะสมเป็นจำนวนมากในบริเวณหนึ่ง ๆ
และเกิดการทับถมกลายเป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด
แต่ถ้าเกิดจากการระเหยของแร่จะเรียกว่าหินตะกอนเคมี เช่น หินปูน หินเชิร์ต ถ้าตะกอนเหล่านั้นเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตจะเรียกว่าหินตะกอนอินทรีย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น