วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
กำเนิดไดโนเสาร์
กำเนิดไดโนเสาร์
THE ORIGIN OF THEDINOSAURS
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน
แต่แท้จริงแล้วไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่มีลักษณะก่ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก
ครองระบบนิเวศน์บนพื้นพิภพในมหายุคมีโซโซอิกเป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว
แม้ว่าสัตว์บางชนิดที่อยู่ในน้ำและบนบกจะมีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์แต่จริงๆพวกมันเป็นเพียงสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้น

ไดโนเสาร์สายพันธ์ไหม่ที่พบในขอนแก่น
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
ภูเวียงโกซอรัส
สิรินธรเน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phuwiangosaurus sirindhornae) หมายความว่า
"สัตว์เลื้อยคลานยักษ์แห่งภูเวียง" เป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ในหมวดหินเสาขัว อายุราวยุคครีเตเชียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด (sauropod - ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว)
ชนิดแรกที่บรรยายลักษณะจากประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม Titanosaur ซึ่งเป็นซอโรพอดขนาดกลาง ความยาวประมาณ
15-20 เมตร โดยตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) พบที่ภูเวียง อำเภอภูเวียง
(อำเภอเวียงเก่า ในปัจจุบัน) จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2525 และได้รับการบรรยายลักษณะเมื่อปี พ.ศ.
2537 (ค.ศ. 1994)


สยามโมซอรัส สุธีธรนี (อังกฤษ: Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ขนาดกลาง พบครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ชิ้นส่วนตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ เป็นรูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้อยในแนวด้านหลังของฟัน
บนผิวของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนวความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของตัวฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ
5 มิลลิเมตร
แต่ไม่มีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ความยาวของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร
ลักษณะฟันดังกล่าวไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน
จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ "สยามโมซอรัส สุธีธรนี"
สยามโมไทรันนัส
อิสานเอนซิส

ลักษณะของกระดูกพิจารณาได้ว่าเป็นของไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอร์ มีลักษณะเก่าแก่โบราณมากกว่าไดโนเสาร์ในวงศ์เดียวกันที่ค้นพบจากแหล่งอื่นๆมากกว่าถึงประมาณ 20 ล้านปี ทำให้สัณฐานได้ว่าไดโนเสาร์วงศ์นี้อาจมีถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการขึ้นเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชียแล้วแพร่กระจายพันธุ์ออกไปจนถึงอเมริกาเหนือในช่วงปลายยุคครีเทเชียส แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จัดอยู่อีกวงศ์คือ Metriacanthosauridae เนื่องจากภายหลังนั้นพบว่ามีหลายส่วนที่บ่งบอกได้ว่าอยู่ในวงศ์นี้


กินรีไมมัส (อังกฤษ: Kinnareemimus) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่างไม่เป็นทางการของไดโนเสาร์สกุลหนึ่งที่ยังไม่ได้รับการบรรยายลักษณะ
(โนเมน นูดัม) ของไดโนเสาร์เทอร์โรพอดพบในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียส จากหลุมขุดค้นที่
5 อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า
จังหวัดขอนแก่น
ลักษณะกระดูกที่ได้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์พวกออร์นิโธมิโมซอเรียน
หลักฐานที่พบเป็นเพียงกระดูกอุ้งตีนข้อที่สามที่มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์แต่มีลักษณะของพินชิ่งด้านข้างที่เด่นชัดซึ่งพบได้ใน
ออร์นิโถมิโมซอร์ ไทรันโนซอรอยด์ ทรูดอนติดส์ และ ครีแนกนาธิดส์
หากมีอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นจริง
จะถือว่าเป็นออร์นิโถมิโมซอร์รุ่นแรกๆที่มีความเก่าแก่กว่าที่เคยพบเห็นมา
ชื่อกินรีไมมัส ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกโดย ริวอิชิ คาเนโกะ (Ryuichi Kaneko) ด้วยชื่อว่า "Ginnareemimus" ในปี ค.ศ. 2000
ทั้งนี้ยังไม่ถือว่าเป็นสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ
ต่อมา Buffetaut et al, 2009 ได้ศึกษากระดูกหลายชิ้น
ประกอบด้วยกระดูกหัวหน่าว กระดูกขาหลังท่อนล่าง กระดูกน่อง กระดูกฝ่าตีน
และกระดูกนิ้ว จากหลุมขุดค้นที่ 5
ในอุทยานแห่งชาติภูเวียงพบว่าเป็นไดโนเสาร์พวก Ornithomimosaur เป็นสกุลและชนิดใหม่และได้ตั้งชื่อว่า Kinnareemimus khonkaenensis (กินรีไมมัส ขอนแก่นเอนซิส)
การค้นพบสกุลและชนิดใหม่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นนี้กล่าวได้ว่า ornithomimosaur รุ่นถัดๆมาอาจมีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วเอเชีย กินรีไมมัส
มาจากชื่อสิ่งมีชีวิตในเทพนิยายไทยซึ่งมีชื่อเรียกว่า กินรี
คอมซอกนาทัส

การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์


ไขปริศนาการสูญพันธุ์
หลังจากครอบครองโลกอยู่ นานถึง
160 ล้านปี ไดโนเสาร์ผู้ยิ่งใหญ่ก็สูญสิ้น
เผ่าพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว
อะไร คือสาเหตุ แห่งการสูญพันธุ์ครั้งนี้ มีผู้พยายาม
ศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันมีทฤษฏีที่ได้ยอมรับ เพียง3 ทฤษฏีหลัก คือ

เป็นทฤษฏีที่มีการอ้างและพูดถึงกันมาก
เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยมีอุกาบาตรขนาดใหญ่จำนวนมาพุ่งชนโลก
ผลจากการชนทำให้เกินการ
ระเบิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองสู่บรรยากาศโลก
เป็นเสมือนม่านบดบัง
แสงอาทิตย์
ส่งผลให้เกิดความมืดมิดและบรรยากาศเย็นลงอย่างฉับพลันเป็นเวลานาน
ทำให้ไดโนเสาร์ไม่สามารถปรับตัวได้ให้เข้ากับอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้
จึงล้มตายเป็นสูญพันธุ์
แนวคิดนี้อ้างอิงจากการพบธาตุอิริเดียมในปริมาณ
มากกว่าปกติในชั้นตะกอนบางๆ
ที่มีอายุในช่วงรอยต่อระหว่างยุคครีเทเชียส
และเทอร์เชียร์รี
ในบริเวณต่างๆ ของโลก นอกจากนั้นยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่า
เกิดจากการชนของอุกาบาตร
เช่น ในประเทศแม็กซิโก ที่สอดคล้องกับอายุ
ที่มีการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์อีกด้วย
2.ทฤษฏีเรือนกระจก
สืบเนื่องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟที่รุงแรงในเวลาไกล้เคียงกันเกือบทั่วโลก
เช่น
หลักฐานการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณที่ราบสูงเดคคาน
ประเทศอินเดีย
การระเบิดครั้งนี้เป็นการที่ระเบิดที่รุงแรงที่สุดในช่วงการมีชีวิต
ของไดโนเสาร์
เป็นให้ลาวาจำนวนมหาศาลปะทุสู่พื้นผิวโลก ปกคลุมพื้นที่
กว่า1 ล้านตารางไมล์และหนากว่า1ไมล์ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูก
3.ทฤษฏีการขาดอากาศนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มหนึ่งได้ตั้งข้อเสนอไว้ว่า
ไดโนเสาร์อาจจะสูญพันธุ์จากโลกนี้เพราะประมาณของออกซิเจนลดลงไปอย่างรวดเร็ว
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับการที่อุณหภูมิของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง
ส่งผลให้ไดโนเสาร์จำนวนมากเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในช่วงต้นมหายุคจำนวนมาก
ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะถูกพืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์แสง
และปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาเป็นจำนวนมาก
บรรยากาศของโลกยุคนั้นจึงเต็มไปด้วยอากาศบริสุทธิ์เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่งรวมถึง
3.ทฤษฏีการขาดอากาศนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มหนึ่งได้ตั้งข้อเสนอไว้ว่า
ไดโนเสาร์อาจจะสูญพันธุ์จากโลกนี้เพราะประมาณของออกซิเจนลดลงไปอย่างรวดเร็ว
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับการที่อุณหภูมิของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง
ส่งผลให้ไดโนเสาร์จำนวนมากเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกในช่วงต้นมหายุคจำนวนมาก
ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะถูกพืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์แสง
และปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาเป็นจำนวนมาก
บรรยากาศของโลกยุคนั้นจึงเต็มไปด้วยอากาศบริสุทธิ์เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่งรวมถึง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)